วิสัยทัศน์/พันธกิจ

ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค

1.1   แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)

(๑)ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

(๒) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

(๓) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

(๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

(๕) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้่อม

(๖) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

1.2   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)

ยุทธศาสตร์ที่๑ :การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์

ยุทธศาสตร์ที่๒ : การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

           ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและ

                                               ธรรมาภิบาลในสังคมไทย

ยุทธศาสตร์ที่ ๗ :การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

ยุทธศาสตร์ที่ ๘ : การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

ยุทธศาสตร์ที่ ๙ :การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ :ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

1.3   แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด

1.3.1      แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-

2564) ประกอบไปด้วยจังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าข้าวหอมะลิ สู่ความต้องการของตลาด
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวให้ได้ระดับมาตรฐานและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ ธุรกิจการค้าและเพิ่มมูลการค้าขายแดนครบวงจรและได้มาตรฐานสากล

1.3.2      
แผนพัฒนาจังหวัด (พ.ศ.2561-2564)

                     ยุทธศาสตร์ที่  1 : ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่  2 : ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และการค้า การท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่  3: ยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของครอบครัว
ชุมชนและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่  4 : อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
                      (อื่นๆ กรณีมีความสัมพันธ์/สอดคล้องกับ THAILAND 4.0 ถ้ามีระบุด้วย)

– ส่งเสริมภาคการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน

– ส่งเสริมคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมประเพณีการค้าและการท่องเที่ยว

– การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

– การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

2.     ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    2.1 วิสัยทัศน์

“สามแยกเมืองน่าอยู่  เชิดชูคุณธรรม  งานล้ำประเพณี  มุ่งสู่วิถีพอเพียง”

2.2  ยุทธศาสตร์

2.2.1. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมภาคการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน

2.2.2. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมประเพณีการค้าและการท่องเที่ยว

2.2.3. ยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

2.2.4. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2.3  เป้าประสงค์

2.3.1 พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการคมนาคมขนส่งที่สะดวกให้กับประชาชนผู้สัญจรไปมาและการขนส่งสินค้า

2.3.2 อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่กับวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

2.3.3 บริหารงานเทศบาลให้มีประสิทธิภาพโดยการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล พนักงาน ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

2.3.4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษา ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู

2.4  ตัวชี้วัด

2.4.1(1).จำนวนเกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น

(2).ร้อยละระยะทางของถนนที่ได้มาตรฐาน

(3).ร้อยละของประชาชนเดินทางสะดวก

2.4.2จำนวนกิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่น

2.4.3ร้อยละของจำนวนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเทศบาลจัดเองและหน่วยงานหรือส่วนราชการอื่นเป็นผู้จัด

2.4.4

         (1) จำนวนครั้งที่รณรงค์การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2)จำนวนจัดกิจกรรมรณรงค์การรักษาความสะอาดชุมชน

2.5  ค่าเป้าหมาย

ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย
1.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมภาคการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน 1.ส่งเสริมให้เกษตรกรเพราะปลูกโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

2.พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการคมนาคมขนส่งที่สะดวกให้กับประชาชนผู้สัญจรไปมาและการขนส่งสินค้า

2.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมประเพณีการค้าและการท่องเที่ยว อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นและส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการค้า
3.ยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ มุ่งให้นำความรู้ที่ได้รับมาเพิ่มประสิทธิภาพการให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดของงานบริการ
4.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกต้นไม้ การรักษาความสะอาดของคูคลอง การรักษาความสะอาดในชุมชน และการกำจัดขยะ

 2.6 กลยุทธ์

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลสามแยก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการ

วางบทบาทการพัฒนาเทศบาลตำบลสามแยกในอนาคตอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งสอดคล้องศักยภาพและบทบาทหน้าที่ของเทศบาลเพื่อที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น จึงได้กำหนดกลยุทธ์ ดังนี้

2.6.1การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ

2.6.2 การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและการทำนุบำรุงรักษา

       ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม

2.6.3 การบริหารจัดการที่ดี ส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

2.6.4        บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       2.7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์

เทศบาลตำบลสามแยก ให้ความสำคัญต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และการ

พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการปรับปรุง ฟื้นฟูพัฒนาการจัดบริการสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาด้านการศึกษา อันเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ ให้มีคุณภาพสูง การพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่กับการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ครามสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาระดับต่างๆ รวมถึงการพิจารณา วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการของประชาชน และความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนา เทศบาลตำบลสามแยกจึงกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

2.7.1 มีโครงการคมนาคมขนส่ง สามารถติดต่อได้ตลอดพื้นที่ทั้งจังหวัด มีถนนสายหลักตัดผ่าน

2.7.2 มีตลาดสดเทศบาลเป็นศูนย์รวมของการซื้อขายเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการ

ดำรงชีวิต

2.7.3มีวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ เช่น งานประเพณีบุญบั้งไฟ

งานบุญเผวส

2.7.4 มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

mungmee

Share: